ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานกับประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านต่อยอดและแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Author:

แตงโสภา เยาวเรศ,วรธนารัตน์ ภัทรวัณย์,อังสนันท์สุข ชนิกา,วงค์ศักดิ์ ศิวดล

Abstract

บทนำ: แพทย์ประจำบ้านต่อยอดและแพทย์ประจำบ้านของภาควิชาออร์โธปิดิกส์ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม ความสมดุลระหว่างชีวิตและการปฏิบัติงานอาจส่งผลถึงประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านต่อยอด และแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2565 วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม 54 ข้อ มี 3 ส่วน ได้แก่ คุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม (เพศ สถานภาพสมรส และระดับรายได้) ระดับความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน 4 ด้าน (การทำงาน สังคม ชีวิตส่วนตัว และเศรษฐกิจ) และประสิทธิผลการปฏิบัติงาน 2 ด้าน (ผลสัมฤทธิ์ และพฤติกรรมการปฏิบัติงาน) วิเคราะห์ค่าร้อยละคุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ความแตกต่างของสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของแพทย์ประจำบ้านต่อยอดและแพทย์ประจำบ้านด้วย Analysis of variance และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสมดุลชีวิตและการทำงานกับคุณลักษณะของผู้ตอบแบบสอบถาม และความสัมพันธ์ของสมดุลชีวิตและการทำงานกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้วย Multiple regression analysis ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างแพทย์ประจำบ้านต่อยอด 10 คน และแพทย์ประจำบ้าน 36 คน เป็นเพศชาย 39 คน (ร้อยละ 84.80) สถานภาพโสด 36 คน (ร้อยละ 80.00) มีรายได้ 20,001 ถึง 30,000 บาท จำนวน 33 คน (ร้อยละ 71.80) เพศหญิงมีระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านการทำงานและด้านเศรษฐกิจสูงกว่าเพศชาย แพทย์ประจำบ้านต่อยอดมีระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านชีวิตส่วนตัวสูงกว่าแพทย์ประจำบ้านอย่างมีนัยสำคัญ (32.80 และ 38.60 คะแนน, P = .03) ผู้มีรายได้ 30,001 ถึง 40,000 บาท มีระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านการทำงานและด้านชีวิตส่วนตัวสูงที่สุด ผู้สมรสมีประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านพฤติกรรมการปฏิบัติงานสูงกว่าผู้ที่โสด ระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานแปรผกผันกับระดับรายได้ ประสิทธิผลการปฏิบัติงานด้านผลสัมฤทธิ์แปรผกผันกับระดับสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ สรุป: การวิเคราะห์ผลการศึกษานี้เพื่อหาสาเหตุและแนวโน้มของประสิทธิผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา สามารถใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายการฝึกอบรมที่ช่วยเสริมสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดี นำไปสู่ประสิทธิผลสูงสุดในการปฏิบัติงานได้  

Publisher

Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Reference12 articles.

1. Theppawan P. Strategic Human Resource Management: Concepts and Strategies for Competitive Advantage. SE-Education Public Co, Ltd; 2011.

2. Tatiyapron N, Puwittayatorn T, Suksri NH. The relationships between the work life balance and the work performance efficiency of staffs in Suratthani Hospital. Phuket Rajabhat University Academic Journal. 2016;12(1):21-43.

3. Fiedler F. A Theory of Leadership Effectiveness. Mc Graw-Hill; 1976.

4. Hyman J, Summers J. Lacking balance? Work-life employment practices in the modern economy. Pers Rev. 2004;33(4):418-429. doi:10.1108/00483480410539498

5. Sargent MC, Sotile W, Sotile MO, Rubash H, Barrack RL. Quality of life during orthopaedic training and academic practice. Part 1: orthopaedic surgery residents and faculty. J Bone Joint Surg Am. 2009;91(10):2395-2405. doi:10.2106/JBJS.H.00665

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3