การรับรู้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ไทยชั้นคลินิกในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท

Author:

เย็นสบาย พรรณพิลาศ,พูนเพชรรัตน์ ปณิธี

Abstract

บทนำ: สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เหมาะสมมีความสัมพันธ์กับสุขภาวะที่ดีขึ้นของนักศึกษาแพทย์ ส่งผลให้มีการเรียนรู้ที่ดี วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้และปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิกในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ 4 - 6) จำนวน 89 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ประกอบด้วย แบบประเมินการรับรู้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ไทย และแบบสอบถามปลายเปิด ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีอัตราการตอบกลับแบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 65.17 ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และมีเกรดเฉลี่ยอยู่ในช่วง 3.00 - 3.49 การรับรู้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 70 โดยคะแนนมากสุดคือ ด้านเพื่อนร่วมงาน และด้านการสนับสนุนทางจิตใจ ขณะที่คะแนนน้อยสุดคือ ด้านสุขภาพและความเครียด โดยนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 เพศหญิงรับรู้ด้านประสบการณ์การเรียนดีกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ด้านอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P > .05) เมื่อเปรียบเทียบในปัจจัยด้านเพศ ชั้นปีการศึกษา และเกรดเฉลี่ย โดยมีข้อเสนอแนะให้พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และด้านสุขภาพและความเครียด สรุป: นักศึกษาแพทย์ส่วนใหญ่รับรู้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ในเชิงบวกโดยมีจุดแข็งด้านผู้สอน ด้านเพื่อนร่วมงาน ด้านประสบการณ์การเรียน ด้านแรงบันดาลใจ และด้านการสนับสนุนทางจิตใจ ขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และด้านสุขภาพและความเครียด จำเป็นต้องหาแนวทางการพัฒนา  

Publisher

Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Reference12 articles.

1. Saipanish R. Stress among medical students in a Thai medical school. Med Teach. 2003;25(5):502-506. doi:10.1080/0142159031000136716

2. Kolkijkovin V, Phutathum S, Natetaweewat N, et al. Prevalence and associated factors of depression in medical students at Faculty of Medicine Vajira Hospital, Urban University. J Med Assoc Thail. 2019;102(9):104.

3. Phanhan S, Panthai B, Srihaset K. Factors affecting learning stress of 4th - 6th year medical students. Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 2018;11(3):2579-2593.

4. Wasson LT, Cusmano A, Meli L, et al. Association between learning environment interventions and medical student well-being: a systematic review. JAMA. 2016;316(21):2237-2252. doi:10.1001/jama.2016.17573

5. Dyrbye LN, Satele D, West CP. Association of characteristics of the learning environment and US medical student burnout, empathy, and career regret. JAMA Netw Open. 2021;4(8):e2119110. doi:10.1001/jamanetworkopen.2021.19110

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3