ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายความปลอดภัยของผู้ป่วยกับการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของบุคลากรช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

Author:

นันทานุกูล พรทิชา,ธาดาเดช จารุวรรณ,สถิตย์วิภาวี ปรารถนา,อธิกเศวตพฤทธิ์ พงศกร

Abstract

บทนำ: ความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นเรื่องที่สำคัญของระบบสุขภาพ การมีวัฒนธรรมความปลอดภัยจะเป็นการประกันคุณภาพโรงพยาบาลและมาตรฐานการบริการระบบบริการสุขภาพ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในบุคลากรในภาพรวมช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ในกลุ่มตัวอย่างบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จำนวน 284 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 และทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษา: บุคลากรมีการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย จำนวน 9 มิติ จาก 12 มิติ โดยมีระดับการรับรู้สูง (median [range], 4.00 [1.00 - 5.00]) ด้านความสัมพันธ์ของตัวแปรพบว่า ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาล (Adjusted OR, 2.85; 95% CI, 1.26 - 6.42) และนโยบายด้านความปลอดภัย (Adjusted OR, 9.5; 95% CI, 1.23 - 73.37) มีความสัมพันธ์กับมิติการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วยในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05) สรุป: บุคลากรที่มีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาล มีโอกาสรับรู้มิติการรับรู้ความปลอดภัยของผู้ป่วยในภาพรวมอยู่ในระดับสูง และบุคลากรที่รับทราบนโยบายด้านความปลอดภัยและปฏิบัติตาม มีโอกาสรับรู้มิติการรับรู้ความปลอดภัยของผู้ป่วยในภาพรวมอยู่ในระดับสูง  

Publisher

Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Subject

General Medicine

Reference20 articles.

1. Øyri SF, Braut GS, Macrae C, Wiig S. Hospital managers’ perspectives with implementing quality improvement measures and a new regulatory framework: a qualitative case study. BMJ Open. 2020;10(12):e042847. doi:10.1136/bmjopen-2020-042847

2. Huang C, Wang Y, Wu H, Yii-Ching L. Assessment of patient safety culture during COVID-19: a cross-sectional study in a tertiary a-level hospital in China. TQM J. 2021;34(5):1189-1201. doi:10.1108/tqm-01-2021-0024

3. Satyavanija B. Patient Safety Culture as Perceived by Professional Nurses at a University Hospital in Eastern Region. Master’s thesis. Burapha University; 2017. Accessed August 23, 2023. https://buuir.buu.ac.th/bitstream/1234567890/6522/1/Fulltext.pdf

4. Institute of Medicine (US) Committee on Quality of Health Care in America, Kohn LT, Corrigan JM, Donaldson MS, eds. To Err is Human: Building a Safer Health System. National Academy Press; 1999.

5. Feng X. Factors Associated with Nurses’ Perceptions of Patient Safety Culture in One University Hospital in China. Dissertation. Marquette University; 2009.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3