การวิเคราะห์ต้นทุนการรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตของตนเอง สำหรับ Lymphoma และ Myeloma

Author:

อยู่ภักดี นิลวรรณ,อยู่เชื้อ อธิชาพรรณ,เลิศขจรสิน วสี,วอง พีระพล

Abstract

บทนำ: ปัจจุบันการรักษาด้วยการใช้เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตของตนเองถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) และมะเร็งเม็ดเลือดขาวมัยอีโลมา (Myeloma) วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและค่ารักษาพยาบาลด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตของตนเองในผู้ป่วย Lymphoma และ Myeloma วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาต้นทุน (Cost descriptive) ข้อมูลต้นทุนจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ โดยใช้แบบเก็บข้อมูลต้นทุนร่วมกับการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลค่ารักษาพยาบาลเก็บจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ คือ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยที่มารับบริการในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ช่วงปี พ.ศ. 2552 - 2564 วิเคราะห์ข้อมูลตามกระบวนการรักษา 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การให้ยาเคมีบำบัดเพื่อเคลื่อนย้ายเซลล์ต้นกำเนิด  2) การเก็บเซลล์ต้นกำเนิด  3) การเก็บรักษาเซลล์ต้นกำเนิด  4) การให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง  5) การคืนเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต และ 6) การดูแลต่อเนื่องหลังคืนเซลล์ต้นกำเนิด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความไวแบบทางเดียว (One-way sensitivity analysis) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตของตนเอง จำนวนทั้งหมด 106 คน เป็นผู้ป่วย Lymphoma จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 48.11 และ Myeloma จำนวน 55 คน คิดเป็นร้อยละ 51.89 ต้นทุนเฉลี่ยต่อคนในผู้ป่วย Lymphoma และ Myeloma คิดเป็นเงิน 400,863.84 บาท และ 197,862.08 บาท ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความไวต้นทุนของผู้ป่วย Lymphoma อยู่ในช่วง 298,467.09 - 518,968.75 บาท และ Myeloma อยู่ในช่วง 136,065.67 - 275,366.63 บาท สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเรียกเก็บในผู้ป่วย Lymphoma เฉลี่ยเป็นเงิน 359,391.74 บาท (SD 143,935.92 บาท) และในผู้ป่วย Myeloma เฉลี่ยเป็นเงิน 162,763.56 บาท (SD 48,649.74 บาท) สรุป: ต้นทุนที่ได้มีค่าอยู่ในช่วงที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายหัว  

Publisher

Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University

Reference10 articles.

1. Lektrakul Y. Outcome of stem cell transplantation from low resources set up bone marrow transplantation unit. Journal of Department of Health Service Support. 2017;13(2):50-57.

2. Pakakasama S, ed. Hematopoietic Stem Cell Transplantation. 2nd ed. Nextstep D-Sign & Print; 2015. Accessed November 21, 2023. https://www.rama.mahidol.ac.th/cancer_center/sites/default/files/public/pdf/Article/BMT.pdf

3. National Health Security Office. National Health Security Fund Administration Manual, Fiscal Year 2021. Sahamitr printing & Publishing company limited; 2020. Accessed November 21, 2023. https://www.nhso.go.th/storage/files/shares/PDF/fund_man01.pdf

4. Comptroller General Department, Ministry of Finance. Welfare Guide for Civil Servants Medical Benefit Handbook. Accessed November 21, 2023. https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8352

5. Wong P, Deoisares R, Tapprom A, et al. Treatment outcomes of high dose chemotherapy and autologous hematopoietic stem cell transplantation for lymphoma and myeloma in a regional hospital. J Hematol Transfus Med. 2015;25(2):123-129.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3