พฤติกรรมของผู้สูงอายุ และการจัดการพื้นที่เพื่อผู้สูงอายุในห้างสรรพสินค้า กรณีศึกษา: เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ และจตุรัสจามจุรีสแควร์

Author:

Jarutach Trirat,Lerddamrongchai Patnalin,Lertpradit Nutcha

Abstract

            ประเทศไทยกลายเป็นสังคมสูงอายุมาตั้งแต่ปี 2548 และกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับกระแส Urbanization ที่ทำให้เมืองอย่างกรุงเทพมหานครกลายเป็นศูนย์รวมผู้คน ประชากรเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองกันมากขึ้น รวมถึงผู้สูงอายุด้วย ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเมืองจำนวนมากนิยมเดินทางมารวมกลุ่มกันในห้างสรรพสินค้า ทั้งเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ และพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาข้อมูลด้านประชากร สังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ และพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เข้ามาใช้พื้นที่ในห้างสรรพสินค้า รวมถึงเพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพภายในห้างสรรพสินค้าโดยอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ตามกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 และเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และการสำรวจพื้นที่จริงในโครงการกลุ่มตัวอย่าง 2 แห่ง ได้แก่ MBK Center และ Chamchuri Square             จากการวิจัยพบว่า จุดเด่นของห้างสรรพสินค้าที่ดึงดูดให้ผู้สูงอายุเข้ามาใช้งาน คือ ทำเลที่ตั้ง โดยห้างสรรพสินค้าในเมืองมักจะเดินทางได้สะดวกด้วยบริการรถโดยสารสาธารณะ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่มาใช้บริการพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าเป็นผู้สูงอายุตอนต้น (อายุ 60-69 ปี) มักรวมตัวกันบริเวณที่มีที่นั่งจำนวนมากและไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาในการนั่ง เช่น บริเวณศูนย์อาหาร กิจกรรมที่ทำคือ การนั่งรวมกลุ่มพูดคุยกับเพื่อนฝูง เดินซื้อของ และนั่งพักผ่อนหย่อนใจ             พื้นที่เชิงกายภาพของห้างสรรพสินค้า ในภาพรวมมีการจัดการพื้นที่ที่ดีเหมาะสมสำหรับการใช้งานของผู้สูงอายุ มีทางลาด บันไดเลื่อน และลิฟต์ให้บริการอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะในบางจุดเพื่อให้ทางผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อไป ได้แก่ รูปแบบประตูควรปรับให้เป็นบานเลื่อนพร้อมระบบเซ็นเซอร์อัตโนมัติทั้งหมด และในบางพื้นที่ควรจัดทำห้องน้ำแยกสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ใช้รถเข็นโดยเฉพาะ นอกจากนี้ เนื่องจากมีผู้สูงอายุนิยมใช้งานพื้นที่บริเวณศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้าเป็นจำนวนมาก ทางผู้ประกอบการอาจพิจารณาจัดพื้นที่แยกโดยเฉพาะให้สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อสร้างจุดขายในเชิงรุกให้กับห้างสรรพสินค้าต่อไป

Publisher

Faculty of Architecture and Planning, Thammasat University

Reference30 articles.

1. Cheang, M. (2002). Older adults’ frequent visits to a fast-food restaurant: Nonobligatory social interaction and

2. the significance of play in a “third place”. Journal of Aging Studies, 16(3), 303-321. https://doi.org/10.1016/

3. S0890-4065(02)00052-X

4. Department of Older Persons. (2019). Sathānakān phūsūngʻāyu Thai Phō̜ .Sō̜ . 2561 [Situation of the Thai elderly

5. . Institute for Population and Social Research, Mahidol University and Foundation of Thai Gerontology

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3