การเสริมสร้างพลังแห่งการฟื้นตัวจากภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาด้วยการฝึกเมตตาภาวนา ตามหลักพระพุทธศาสนา

Author:

ศุภวงศ์ ปริยาORCID,สมหวัง ธนภณORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: เมื่อนักศึกษากำลังเติบโตเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ วัยที่เต็มไปด้วยความรับผิดชอบและความคาดหวัง การเติบโตนี้จึงมาพร้อมกับจำนวนปัญหาที่มากขึ้นและขนาดของอุปสรรคที่ใหญ่ขึ้น นักศึกษาหลายคนไม่สามารถปรับตัวได้ หรืออาจปรับตัวได้ช้าจนก่อให้เกิดความเครียดเรื้อรังและกลายเป็นภาวะซึมเศร้าในที่สุด บทความนี้จึงเป็นการนำเสนอวิธีการเสริมสร้างพลังแห่งการฟื้นตัว (Resilience) ด้วยการฝึกเมตตาภาวนาตามหลักพุทธศาสนา เพื่อป้องกันภาวะอาการซึมเศร้าที่เมื่อนานวันไปจะกลายเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งพบเพิ่มมากขึ้นทุกปีจากใบลาป่วยของนักศึกษาที่วินิจฉัยรับรองโดยแพทย์เฉพาะทาง   ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง จากนั้นทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามประเด็นวัตถุประสงค์การศึกษาและใช้วิธีการนำเสนอเชิงพรรณนาความ สรุปผล: ด้วยการฝึกสมาธิด้วยความเมตตาและปฏิบัติตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา นักเรียนสามารถเสริมสร้างความยืดหยุ่นและเอาชนะภาวะซึมเศร้าได้ ลักษณะเชิงบวก เช่น การตระหนักรู้ในตนเอง ความพึงพอใจ และความขอบคุณ ได้รับการส่งเสริมโดยการฝึกฝนนี้ และจะปรับปรุงความสามารถในการปรับตัวและมนุษยสัมพันธ์ซึ่งมีความสำคัญต่อความยืดหยุ่น

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference20 articles.

1. กรมสุขภาพจิต (2551).เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต RQ: Resilience Quotient. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

2. กรมสุขภาพจิต. (2551). RQ พลังสุขภาพจิตพาคุณก้าวผ่านวิกฤตและความไม่แน่นนอนของชีวิตได้อย่างสง่างาม. กรุงเทพฯ : ดีน่าดู.

3. ขันทอง วิชาเดช. (2561). การแผ่เมตตาในสังคมไทยตามคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

4. คิมจูฮวน. (2564). ยืนหยัดได้ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

5. จันทร์จิรา วสุนธราวัฒน์ และคณะ. (2557). ผลของการสวดมนต์และแผ่เมตตาต่อการตอบสนองด้านร่างกายในผู้สูงอายุ. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3