การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรง และกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Author:

แสงสุวรรณ ผกาพรรณORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: แบบทดสอบวินิจฉัยเป็นแบบทดสอบเพื่อหาข้อบกพร่อง จุดอ่อน จุดด้อย และหาสาเหตุของความบกพร่องทางการเรียนของนักเรียนเป็นรายบุคคล ในด้านต่าง ๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ส่งเสริมการเรียนของนักเรียนได้ถูกต้องและตรงจุดดังนั้นการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) วินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (แผนการเรียนวิทย์ - คณิต) ประจำปีการศึกษา 2566 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 236 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและกฎการเคลื่อนที่ แบบสี่ระดับ ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย ด้วยค่าความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยง ความยาก และอำนาจจำแนก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัย: (1) ความตรงเชิงเนื้อหาของแบบทดสอบวินิจฉัยที่สร้างขึ้น มีค่า IOC อยู่ในช่วง 0.67 – 1.00 โดยระดับคำตอบ (A-tier) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.822 ค่าความยากอยู่ในช่วง 0.40 - 0.85 และอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.25 – 0.70 ส่วนระดับเหตุผล (R-tier) มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.834 ค่าความยากอยู่ในช่วง 0.42 - 0.88 และอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.20 – 0.65 (2) ผลการวินิจฉัยข้อบกพร่อง พบว่า นักเรียนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เรื่อง ความหมายเกี่ยวกับกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 2 ของนิวตันมากที่สุด รองลงมา คือ การคำนวณเกี่ยวกับแรงคู่กิริยาและการชั่งน้ำหนักภายในลิฟต์ ความหมายน้ำหนักของวัตถุ และการคำนวณเกี่ยวกับเรื่องแรงตึงเชือกคล้องผ่านรอก ตามลำดับ ส่วนเรื่องที่นักเรียนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดคือ ความหมายของแรง สรุปผล:  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการทดสอบวินิจฉัยวัดความเข้าใจของนักเรียนในระดับความรู้ต่างๆ ได้ดีเพียงใด โดยมีความแม่นยำและความแปรปรวนในระดับสูงในระดับความยาก การค้นพบความเข้าใจผิดที่แพร่หลายยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแทรกแซงเพื่อจัดการกับความเข้าใจผิดในด้านใดด้านหนึ่ง และเพิ่มความเข้าใจทั่วไปในการสอนวิชาฟิสิกส์

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference23 articles.

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551(ฉบับปรับปรุงปี 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

2. ธนบดี อินหาดกรวด. (2560). การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. ธีระวัฒน์ การะเกตุ. (2561). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยหลายตัวเลือกสี่ลำดับขั้น เพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน วิชา ชีววิทยา เรื่อง การแบ่งเซลล์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

4. นงนุช ศุภวรรณ์. (2547). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยเรื่องฟิสิกส์อะตอมสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

5. ประกาย เชื้อนิจ. (2560). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความบกพร่องในการเรียนวิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3