การเรียนรู้แบบผสมผสาน: ทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผล

Author:

นิยมเวช บุศราORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การเรียนรู้แบบผสมผสานจะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นได้ ทำให้ผู้สอนสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นการปรับปรุงผลลัพธ์การสอนและการเรียนรู้ สำหรับแนวคิดทฤษฎี การปฏิบัติและประสิทธิผลที่เป็นปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ร่วมกันนำไปสู่สภาพแวดล้อมทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จและครอบคลุมการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบผสมผสานในเรื่องทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผล  ระเบียบวิธี: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ บทความ หนังสือ เอกสารการประชุม และสิ่งพิมพ์ทางวิชาการอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงอย่างเป็นระบบ เพื่อค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผลอย่างละเอียดและครอบคลุม  ผลการศึกษาจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบผสมผสาน จากมุมมองที่หลากหลายและแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ผลการวิจัย: ผลการวิจัยในเรื่องทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผลประกอบด้วยหลายมิติ ดังนี้ (1) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย 1.1) ภาพรวมของทฤษฎีการเรียนรู้แบบผสมผสาน 1.2) มุมมองของคอนสตรักติวิสต์และสังคมวัฒนธรรม 1.3) การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้แบบผสมผสานในการออกแบบการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (2) แนวปฏิบัติของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย 2.1) รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2.2) แนวทางการนำการเรียนรู้แบบผสมผสานไปใช้ในบริบททางการศึกษา 2.3) การบูรณาการการเรียนรู้แบบผสมผสาน แบบเผชิญหน้าและแบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิผล (3) ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Effectiveness of Blended Learning) ประกอบด้วย 3.1) งานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3.2) ผลกระทบที่มีต่อการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของผู้เรียน 3.3) การเปรียบเทียบกับการสอนแบบตัวต่อตัวแบบดั้งเดิมและแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ และ 3.4) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบผสมผสาน อย่างไรก็ดีการนำการเรียนรู้แบบผสมผสานไปใช้มีอุปสรรคหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่การนำไปใช้การยอมรับ การขาดความรู้และทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานและความพร้อมด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น สรุปผล: ความรู้ความเข้าใจเรื่องทฤษฎี แนวปฏิบัติ และประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีความสำคัญในการจัดการศึกษาสมัยใหม่ เพราะสอดคล้องกับบริบททางการศึกษาในยุคดิจิทัล และสามารถช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จและมีความพึงพอใจในการเรียน  ถึงแม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง แต่สามารถแก้ได้ด้วยการดำเนินการเชิงรุก

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference19 articles.

1. Bates, A. W., & Sangra, A. (2011). Managing technology in higher education: Strategies for transforming teaching and learning. John Wiley & Sons.

2. Bonk, C. J., & Graham, C. R. (2006). The handbook of blended learning: Global perspectives, local designs. John Wiley & Sons.

3. Driscoll, M. (2002). Blended learning: Let's get beyond the hype. E-learning, 1(4), 1-4.

4. Garrison, D. R., & Anderson, T. (2003). E-learning in the 21st century: A framework for research and practice. Routledge.

5. Garrison, D. R., & Vaughan, N. D. (2008). Blended learning in higher education: Framework, principles, and guidelines. John Wiley & Sons.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3