นโยบายการลดขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) : เครื่องมือการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

Author:

สลับสี สุรีย์พรORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชากรและสภาพแวดล้อม โดยหนึ่งในวิธีการสำคัญคือการนำนโยบายการลดขยะเป็นศูนย์ (Zero Waste) มาใช้ในกระบวนการพัฒนาเมือง นโยบายนี้เป็นการพัฒนาเมืองโดยสร้างระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ช่วยลดปัญหามลพิษ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างโอกาสในการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การเติบโตของเมืองที่มีคุณภาพ ยั่งยืน และสมดุลกับสิ่งแวดล้อม จากการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวคิด นำเสนอตัวอย่างการนำนโยบายการลดขยะเป็นศูนย์ไปใช้ทั้งในต่างประเทศและประเทศไทย และนำเสนอแนวทางการนำนโยบายดังกล่าวมาใช้ในการพัฒนาเมืองของประเทศไทย ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษานี้ใช้การรวบรวมและสังเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการด้วยกระบวนการทบทวนวรรณกรรมจากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง แล้วนำมาสกัดสังเคราะห์ข้อมูลและเรียบเรียงเป็นบทความ ผลการศึกษา: จากการศึกษา พบว่า การลดขยะเป็นศูนย์เป็นแนวคิดและนโยบายที่มุ่งหวังให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการสร้างขยะที่ไม่จำเป็นในทุกขั้นตอน ซึ่งจะช่วยจัดการทรัพยากร ลดปัญหามลพิษและสิ่งปฏิกูล และเสริมสร้างเมืองให้มีคุณภาพและยั่งยืน การนำนโยบายนี้มาใช้พัฒนาเมืองจะส่งผลให้เมืองเติบโตอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพในระยะยาว โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และการสร้างความตระหนักรู้ของประชาชน สรุปผล: นโยบายการจัดการขยะเป็นศูนย์เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการป้องกันการเกิดขยะตั้งแต่ต้นทาง ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งจะช่วยให้เมืองสามารถพัฒนาไปได้อย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของนโยบายนี้ขึ้นอยู่กับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม ทั้งการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบการจัดการขยะ รวมถึงการกำหนดนโยบายและมาตรการสนับสนุนที่เหมาะสม

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference30 articles.

1. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนปฏิบัติการ “ประเทศไทย ไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” ระยะ 1 ปี (พ.ศ. 2559 – 2560). Retrieved on 13 March 2024 from: https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER9/DRAWER055/GENERAL/DATA0000/00000396.PDF

2. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). ศูนย์เรียนรู้ชุมชน...ที่นี่ปลอดขยะ. กรุงเทพ ฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

3. เทศบาลนครเชียงใหม่. (2566). ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่กล่าวสนับสนุนกิจกรรม Zero Waste ล้านนา ไม่ทิ้งรวม และจัดการขยะที่ต้นทาง. Retrieved on 13 March 2024 from: https://www.cmcity.go.th/News/19908ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่กล่าวสนับสนุนกิจกรรม%20Zero%20Waste%20ล้านนา%20ไม่ทิ้งรวม%20และจัดการขยะที่ต้นทาง

4. ไทยโพสต์. (2565). ขอนแก่น..ต้นแบบแก้ไขขยะมูลฝอย ขับเคลื่อนไทยสู่สังคม Zero Waste. Retrieved on 13 March 2024 from: https://www.thaipost.net/public-relations-news/235158/

5. ประชาชาติธุรกิจ. (2561). “ปตท.-เอสซีจี” หัวหอกบุกธุรกิจรีไซเคิล. Retrieved on 13 March 2024 from: https://www.prachachat.net/economy/news-115575

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3