การพัฒนากิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน

Author:

หล้าอ่อน ศาสตราORCID,มูลโพธิ์ พิมพ์ลักษณ์ORCID,เวชบรรพต กาญจนาORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การส่งเสริมเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นเป็นทั้งหลักการและเป้าหมายสำคัญของการศึกษาสำหรับพลเมืองโลกในอนาคต วงการการศึกษาได้แสวงหาแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ซึ่งเป็นมุมมองที่เชื่อกันว่าเป็นการศึกษาตลอดชีพ การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเป็นแนวทางหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง การศึกษาการพัฒนากิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดยใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ควรศึกษา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการพัฒนากิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนโดยใช้การศึกษาชั้นเรียนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาร่วมกับวิธีการแบบเปิด ระเบียบวิธีการวิจัย: ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน จำนวน 6 แผนที่ต่อเนื่องกัน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ นักวิจัย จำนวน 3 คน ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ 1 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 15 คน กิจกรรมพัฒนาขึ้นเพื่อจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกการร่วมกันวางแผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกภาคสนามเพื่อบันทึกแนวคิดของนักเรียน 3) กล้องวีดิทัศน์บันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน 4) กล้องภาพนิ่งเพื่อบันทึกผลงานนักเรียนและกระดานบันทึกการจัดการเรียนรู้ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์โดยอาศัยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ร่วมกับการศึกษาตนเอง (Self-study) โดยใช้กรอบแนวคิดเรื่องกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ของ Asami-Johansson ผลการวิจัย: กลุ่มการศึกษาชั้นเรียนร่วมกันพัฒนากิจกรรมทางคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้แก่ (1) การพัฒนาเพื่อให้นักเรียนมีความมุ่งมั่น (Willingness) ที่จะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์โดย 1) ออกแบบปัญหาที่ท้าทายสำหรับนักเรียน 2) ใช้ปัญหาที่สอดคล้องกับประสบการณ์ของนักเรียน 3) วางลำดับการตั้งคำถาม 4) ออกแบบสื่อเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาด้วยตนเองของนักเรียน 5) จัดเตรียมสื่อเสริมเพื่อสนับสนุนการนำเสนอแนวคิดของนักเรียน  (2) การพัฒนาเพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์อย่างมีเป้าหมาย (Purpose)  โดย 1) ทีมการศึกษาชั้นเรียนต้องแก้ปัญหาในหนังสือเรียนญี่ปุ่น 2) วิเคราะห์ความยุ่งยากของปัญหา 3) คาดการณ์แนวคิดที่จะเกิดขึ้นในชั้นเรียน 4) วางลำดับของปัญหาที่นักเรียนจะได้เผชิญ 5) วิเคราะห์ประสบการณ์ของนักเรียน 6) ออกแบบสถานการณ์ปัญหาที่จะทำให้นักเรียนระบุปัญหาหรือเป้าหมายการแก้ปัญหาด้วยตนเอง 7) ออกแบบคำสั่ง 8) คาดการณ์แนวคิดและการตอบสนองต่อคำสั่ง 9) จัดเตรียมสื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา 10) นำแนวคิดที่คาดการณ์ไว้มาเรียงลำดับการนำเสนอ สรุปผล: ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าทีมศึกษาบทเรียนจงใจสร้างงานทางคณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนโดยการตั้งคำถามที่ยาก จับคู่คำถามกับความรู้เดิม จัดระเบียบคำถามตามลำดับตรรกะ และเสนอแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางคณิตศาสตร์โดยเจตนาผ่านการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบ คาดการณ์ความคิดของนักเรียน และจัดระเบียบคำสั่งและการนำเสนอด้วยความระมัดระวัง

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference28 articles.

1. ประเวศ วะสี. (2543). หัวใจของการปฏิรูปการศึกษา คือ การปฏิรูปการเรียนรู้, ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

2. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และคณะ. (2546). การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในโรงเรียนโดยเน้น กระบวนการทางคณิตศาสตร์. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

3. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: เพ็ญพรินติ้ง.

4. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2559). การพัฒนาแนวทางการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดของนักเรียนเป็นฐาน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น:ขอนแก่น

5. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2562). (บรรยาย) การสอนทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 ระดับประถมศึกษา: การออกแบบลำดับการสอน (Flow of Lesson). EDUCA 2018: The 13th Annual Congress for Teacher Professional Development.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3