การศึกษาบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

Author:

ไชยสุริย์ จุฑาทิพย์ORCID,มะลาศรี อมรORCID,ขจรปัญญาไพศาล คมสันทิ์ORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: นิวนอร์มัล คือ รูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต เนื่องจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มากระทบจนแบบแผนแนวทางปฏิบัติที่คนในสังคมคุ้นเคยต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีใหม่ภายใต้หลักมาตรฐานใหม่ที่ไม่คุ้นเคย การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันก็เช่นกัน สำหรับผู้เรียนทุกคนต้องพึ่งพาหลายปัจจัยทั้งความพร้อมด้านเทคโนโลยีและความพร้อมของครูในการจัดการเรียนการสอนแบบใหม่เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามผู้บริหารสถานศึกษาก็ต้องมีหลักการทำงานเป็นทีมที่สอดคล้องกับยุคนิวนอร์มัลที่สามารถดึงความรู้ความสามารถของสมาชิกในทีมงานออกมาเพื่อแบ่งปัน และเพื่อร่วมกันปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถจนทำให้การดำเนินงานในสถานศึกษาประสบผลสำเร็จ โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ 2) เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำแนกตามประสบการณ์ในการบริหารงานและจำแนกตามขนาดโรงเรียน ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ (1) การศึกษาองค์ประกอบของบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น (2) การศึกษาและเปรียบเทียบระดับบทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำแนกตามประสบการณ์ในการบริหารงานและขนาดโรงเรียน 2 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ในปีการศึกษา 2565 จำนวนทั้งสิ้น 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย (1) บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 7 บทบาท ได้แก่ 1) ด้านวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน 2) ด้านความร่วมมือและการใช้ความขัดแย้งในทางสร้างสรรค์ 3) ด้านการปฏิบัติงาน 4) ด้านการติดต่อสื่อสาร 5) ด้านภาวะผู้นำ 6) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 7) ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ (2) บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (3) บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำแนกตามประสบการณ์ในการบริหารงาน โดยรวมแตกต่างกัน (4) บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการสร้างทีมงานในยุคนิวนอร์มัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน สรุปผล (1) ผู้บริหารโรงเรียนได้เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติจะส่งผลให้ครูและบุคลากรเกิดขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความรู้สึกในมความเป็นเจ้าของ เกิดความภาคภูมิใจในงานที่ได้กระทำ มีความขยันขันแข็ง กระตือรือร้นที่จะคิดสร้างสรรค์งานให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น (2) เมื่อเกิดความขัดแย้งผู้บริหารโรงเรียนก็สามารถเผชิญหน้ากับปัญหาความขัดแย้งให้เป็นไปในลักษณะสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์กับโรงเรียน (3) ผู้บริหารโรงเรียนได้สร้างและพัฒนาการทำงานเป็นทีมอยู่เสมอเพื่อให้แต่ละคนเห็นความสำคัญของงานและผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าความสำคัญของบุคคล บรรยากาศในการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ผลตอบแทนที่ได้รับความยุติธรรม ความเสมอภาค และการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน (4) ผู้บริหารโรงเรียนมีการสื่อสารกับครูและบุคลากรอย่างเปิดเผย โดยมีการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน เปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรได้แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ดีต่อกัน (5) ผู้บริหารโรงเรียนมีการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีทักษะของการเป็นผู้นำตามความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมกับงาน จนทำให้โรงเรียนเกิดการแข่งขันและสามารถผลิตงานใหม่ ๆ ขึ้นมาจนทำให้เกิดการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา (6) ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้มีบทบาทในการที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศภายในโรงเรียนให้ทันสมัยและนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (7) ผู้บริหารโรงเรียนรู้จักการบำรุงขวัญและกำลังใจในโรงเรียนเพื่อให้ได้ผลการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference33 articles.

1. กิตติกรณ์ ไชยสาร. (2557). การสร้างทีมงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

2. ขวัญสิริ กะสินรัมย์. (2560). การบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

3. คณิต ทิพย์โอสถ. (2555). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอประจันตคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1. ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.

4. จำนงค์ ศิลารินทร์. (2550). สภาพและปัญหาการสร้างทีมงานในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดอุดรธานี. ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

5. เตือนใจ โพธิ์ทอง. (2551). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1. ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3