การธำรงรักษาแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาว ในกิจการประมงน้ำจืดหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) : กรณีศึกษาเจ้าของกิจการฟาร์มปลาน้ำจืด ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

Author:

Kongpikul DuangpornORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้ศึกษาแนวทางการธำรงรักษาแรงงานข้ามชาติในกิจการประมงน้ำจืดซึ่งเป็นหนึ่งในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานข้ามชาติที่กลับภูมิลำเนาหรือถูกเลิกจ้างช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การธำรงรักษาแรงงาน กับความพึงพอใจ กับความน่าจะเป็นในการคงอยู่ในสถานประกอบการ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการธำรงรักษาแรงงาน กับความพึงพอใจ กับความน่าจะเป็นในการคงอยู่ในสถานประกอบการ และนำเสนอปัญหาอุปสรรคและแนวทางการธำรงรักษาแรงงานข้ามชาติอาเซียน ในกิจการฟาร์มปลาน้ำจืด จังหวัดฉะเชิงเทรา ระเบียบวิธีการวิจัย: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสานวิธี เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจ้าของกิจการฟาร์มปลาน้ำจืด จำนวน 15 คน และเก็บแบบสอบถามจากแรงงานข้ามชาติ จำนวน 124 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ด้วยวิธี Stepwise ผลการวิจัย: ปัจจัยการธำรงรักษาแรงงาน ประกอบด้วยตัวแปร 1) การสรรหาและคัดเลือกแรงงานข้ามชาติ 2) การอบรมทักษะการทำงานเป็นทีม 3) การดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัย 4) การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน 5) การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ 6) การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน ทุกตัวแปรผลประเมินในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยการสร้างความพึงพอใจในการทำงาน และ ปัจจัยการธำรงรักษาแรงงานข้ามชาติให้คงอยู่ ได้ผลประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การสรรหาและคัดเลือกแรงงานเข้าทำงาน การดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัย การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน การจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ และการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการทำงาน ร้อยละ 73 และ การดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัย การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน และการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับความน่าจะเป็นที่จะคงอยู่ในสถานประกอบการ ร้อยละ 47 ปัญหาอุปสรรคของเจ้าของฟาร์มปลาน้ำจืดต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนสูงขึ้น ส่วนแรงงานข้ามชาติต้องเผชิญกับปัญหาขั้นตอนการเข้าทำงานมากที่สุด สรุปผล: การธำรงรักษาแรงงานข้ามชาติสำหรับเจ้าของกิจการฟาร์มปลาน้ำจืด ควรมีความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับธุรกิจที่ตนเองเป็นเจ้าของให้มากที่สุด มีความคิดสร้างสรรค์กล้าออกแบบธุรกิจใหม่จากเดิม หาช่องทางและรักษาความสัมพันธ์กับพันธมิตรในโซ่อุปทานธุรกิจเพิ่มเสมอ สำหรับภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรปรับนโยบายการจ้างงานและขั้นตอนการนำเข้าแรงงานข้ามชาติให้ยืดหยุ่นขึ้น และส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดสำหรับธุรกิจเลี้ยงปลาน้ำจืด รวมถึงสนับสนุนการเรียนรู้และเทคโนโลยีการเกษตรใหม่ให้แก่เจ้าของฟาร์มปลาน้ำจืด

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference33 articles.

1. กรรณิการ์ นิ่มทรงประเสริฐ. (2558). รูปแบบและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเลี้ยงปลานิลของผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลบางแขม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร

2. จิดาภา ธัญญรัตนวานิช. (2565). การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 8(3), 296-310.

3. จิรศักดิ์ บางท่าไม้. (2562). การจัดการแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเลเพื่อความมั่นคงของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา

4. ดวงพร คงพิกุล. (2566). การพัฒนากรอบแนวคิดการวิจัยด้านการธำรงรักษาแรงงานข้ามชาติอาเซียนสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 9(2), 381-393.

5. ธนะพัฒน์ วิริต. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจ (SMEs) จากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 458-473.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3