แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิคส์ (E-Portfolios) สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา

Author:

บรรจงปรุ นันทน์ธรORCID,กุลมาตย์ เขมิสราORCID,โตนุช ทัสรินORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิคส์เป็นนวัตกรรมที่ถูกปรับให้เข้ากับวิถีชีวิตของผู้เรียนยุคใหม่ ซึ่งช่วยในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงผลงานของผู้เรียนที่มีการจัดเก็บอย่างมีเป้าหมายเพื่อบรรยายให้เห็นการสะท้อนคิด ความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ของการเรียนของผู้เรียนในขอบเขตเนื้อหาที่กำหนด วัตถุประสงค์ของบทความนี้เขียนขึ้นเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับมโนทัศน์เกี่ยวกับแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิคส์ ลักษณะ ประเภท โครงสร้าง และกระบวนการพัฒนาแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ เกณฑ์การประเมินผล รวมถึงประโยชน์และข้อจำกัดของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร โดยการศึกษาค้นคว้ารวมรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิคส์ ผลการวิจัย: การนำแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิคส์ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนมีสิ่งที่ต้องพิจารณา คือ 1) ควรเตรียมความพร้อมของผู้เรียนให้คุ้นเคยกับการใช้โปรแกรม 2) ลดชิ้นงานให้น้อยลง แต่ยังคงคุณภาพของงาน และ 3) กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการสะท้อนคิด สรุปผล: แฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิคส์ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนในการประเมินความก้าวหน้าทางความรู้และความสามารถของตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการสะท้อนคิดความเป็นตัวตน

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference21 articles.

1. เกษศรินทร์ จันทลา. (2549). การพัฒนาการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์: โรงเรียนสะเดาใหญ่ประชาสรรค์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

2. เบญจวรรณ เลิศเมธากุล. (2546). ผลของการให้การบ้านและการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

3. ประกอบ กรณีกิจ. (2552). ผลของระดับความสามารถทางการเรียนรู้และแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับในแฟ้มสะสมงาน อิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตในวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา. กองทุนวิจัยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. สมศรี กิติศรีวรพันธุ์. (2543). การประเมินพัฒนาการทักษะการเขียนด้วยแฟ้มสะสมงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

5. Barrett, H. (2000). Create your own electronic portfolio. Learning & Leading with Technology, 27(7), 14–21.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3