การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์ สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น

Author:

พุทธสริน ทิพย์อักษรORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การส่งเสริมรากฐานของการพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) กับเด็กปฐมวัยให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในการเจริญเติบโตและเรียนรู้อย่างเหมาะสม โดยมีการซึมซับภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมให้สืบทอดต่อไป การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเสริมประสบการณ์สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น ระเบียบวิธีการวิจัย: ผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการวิจัย One - Group Pretest -Posttest Design กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ เด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาล 1 (วิทยานารี) อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 20 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่น และแบบสังเกตทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือโดยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างลักษณะพฤติกรรมกับจุดประสงค์ จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.96  และวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test dependent ผลการวิจัย: กลุ่มทักษะพื้นฐานก่อน/หลังจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระดับปานกลาง/ระดับมากที่สุด  กลุ่มทักษะกำกับตัวเองก่อน/หลังจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระดับปานกลาง/ระดับมากที่สุด กลุ่มทักษะปฏิบัติก่อน/หลังจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ระดับปานกลาง/ระดับมากที่สุด หลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เด็กปฐมวัยมีทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผล:  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการกิจกรรมเสริมประสบการณ์สื่อสร้างสรรค์จากวัสดุภูมิปัญญาท้องถิ่นมีทักษะการคิดเชิงบริหาร (EF) ที่สูงขึ้น

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference26 articles.

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

2. คมกริช ชาญณรงค์, และบุญสม ยอดมาลี. (2560). การใช้สาระด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษา สภาพปัญหาและการพัฒนาเชิงสร้างสรรค์. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(3), 59-77.

3. ดุษฎี อุปการ, และอรปรียา ญาณะชัย. (2561). การเสริมสร้างพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยควรเลือกใช้หลักการใด: “การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน” หรือ “การคิดเชิงบริหาร. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ศิลปากรมหาวิทยาลัย.

4. ปรีญานันท์ พร้อมสุขกุล. (2561). ดนตรีกับทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. Veridian E-Journal Silpakorn University. 11 (2), 1175-1792.

5. พัชรี ผลโยธิน และคณะ. (2543). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทยตามแนวคิดไฮสโคป. กรุงเทพ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งซ์.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3