การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

Author:

ใบโพธิ์ ทองคำORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การวิจัยเรื่องการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากรที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8,101 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566) ประชากรในการวิจัยคือ ผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 8,101 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566) แต่เนื่องจากประชากรมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่สามารถเก็บข้อมูลได้หมด จึงจำเป็นต้องทำการสุ่มตัวอย่างตามระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผู้วิจัยจึงได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมในการวิจัย โดยใช้การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแบบ Yamane (1973) ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ให้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม 382 คน ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบขั้นตอน (Multi-state Random Sampling) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ถือเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ได้แก่ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้บริหารท้องถิ่น คณะกรรมการหมู่บ้าน ใน 6 ตำบลๆ ละ 5 คนรวมเป็น 30 คน ใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบโดย ผู้มีส่วนได้เสียกับ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทั้งหมดในชุมชน ครอบคลุม ผู้สูงอายุ อสม. ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 180 ราย ผลการศึกษา (1) ผู้สูงอายุมีความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพโดยผู้สูงอายุมีความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในระดับมากที่สุด และรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในระดับมากที่สุด ส่วนการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุเห็นด้วยในระดับน้อยที่สุดในประเด็นการหยุดสูบบุหรี่ ทำให้มีปัญหาในการเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อน นอกจากนั้น ผู้สูงอายุรับรู้ความสามารถของตนเองในระดับมากที่สุดในการมีความตระหนักว่าลูกน้ำยุงลายเป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออก ไข้สมองอักเสบ ส่วนด้านการสนับสนุนทางสังคม ผู้สูงอายุมีความเห็นว่าได้รับการสนับสนุนทางสังคมในระดับมาก ในประเด็นการได้รับคำแนะนำในการรับวัคซีนที่จำเป็นและความรู้ในการจัดทิ้งขยะอันตราย ผู้สูงอายุมากกว่าครึ่งปฏิบัติตนตามหลักพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ (2) การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยประกอบไปด้วย 1) ระบบการเสริมสร้าง เฝ้าระวัง ป้องกันการเจ็บป่วยด้วยกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและองค์ความรู้โดยชุมชน 2) ระบบบริการปฐมภูมิในชุมชน 3) ระบบการฟื้นฟูดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ และ 4) นโยบายเพื่อการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ (3) ประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วมในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ในระดับมากในทุกหมวด โดยหมวดที่ 1 ประสิทธิภาพการสร้างความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพมีประสิทธิภาพในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.11) หมวดที่ 2 ประสิทธิภาพของรูปแบบการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ (ค่าเฉลี่ย 3.84) หมวดที่ 3 ประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ (ค่าเฉลี่ย 3.83) หมวดที่ 4 ความเหมาะสมและความสอดคล้อง (ค่าเฉลี่ย 3.75) โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยรวม 3.91) สรุปผล: การศึกษาพบว่าถึงแม้ผู้สูงอายุจะตระหนักถึงพฤติกรรมและกลยุทธ์การส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันโรค แต่ก็ไม่ค่อยตระหนักถึงต้นทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การเลิกบุหรี่ นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มีความก้าวหน้ามากขึ้นด้วยรูปแบบที่อิงชุมชน ได้รับคะแนนสูงทั้งด้านการส่งเสริมพฤติกรรมและการเผยแพร่องค์ความรู้ รวม 3.91 คะแนน ในด้านความเหมาะสม

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference38 articles.

1. กรมการปกครอง. 2566. สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฏร์. Retrieved from: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth

2. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2566). แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566 - 2580). Retrieved from: https://www.dop.go.th/download/laws/th1653553501-843_0.pdf.

3. กระทรวงสาธารณสุข. (2566). คู่มือการดำเนินงาน ตัวชี้วัด ร้อยละของประชากรสูงอายุที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

4. กานต์รวี กอบสุข. (2554). รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านโคกบรรเลง ตำบลบุฤาษี อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

5. กิตติพร เนาว์สุวรรณ และ มาริสา สุวรรณราช (2562). สภาพปัญหาและความต้องการการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในบริบทภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 11 (2), 118-132.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3