การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเคมี เรื่อง กรด-เบส ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Author:

วงษ์มั่น ขันเงินORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์สาขาเคมีในประเทศไทยเป็นสาขาหนึ่งที่ไม่เพียงแต่ปรับปรุงหลักสูตรและเนื้อหาให้ทันสมัย แต่พยายามปรับปรุงคุณภาพของการสอน ซึ่งในการจัดการเรียน การสอนจะต้องเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ได้ ให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความคิดขั้นสูง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนการสอนเคมี เรื่อง กรด-เบสที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนเคมี เรื่อง กรด-เบส ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 31 คน โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนเคมี เรื่อง กรด-เบส ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t–test (Dependent) ผลการศึกษา: 1. รูปแบบการเรียนการสอนเคมี เรื่อง กรด-เบส ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งขั้นตอนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) สร้างความสนใจ (E: Engagement) (2) การอภิปราย (D: Discussion) (3) การปฏิบัติ (P: Practice) (4) สะท้อนความคิด (R: Reflection Thinking) (5) จัดหมวดหมู่สาระ (O: Organization) (6) ทดสอบความสามารถ (T: Talent test) 2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเคมี เรื่อง กรด-เบส ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเคมี เรื่อง กรด-เบส ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเคมี เรื่อง กรด-เบส ที่ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก สรุปผล: รูปแบบการเรียนการสอนเคมีซึ่งประกอบด้วย 6 องค์ประกอบและระยะต่างๆ แสดงให้เห็นว่ามีความเหมาะสมสูงและมีผลการเรียนรู้ที่ดีขึ้นอย่างมาก ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และระดับความพึงพอใจทางคณิตศาสตร์ สิ่งนี้เน้นย้ำว่าสิ่งนี้สนับสนุนการเรียนรู้แบบองค์รวมและการพัฒนาทักษะของนักเรียนได้ดีเพียงใด

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference22 articles.

1. กัญญารัตน์ โคจร และคณะ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง สารและสมบัติของสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 1(2), 1-20.

2. ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน: องค์ความรูเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรูที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์,.

3. ธนศักดิ์ เจริญธรรม. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3): กรกฎาคม – กันยายน.

4. วิชาการโรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองนางรอง. (2561). รายงานการประเมินตนเอง (SAR). โรงเรียนเทศบาล 2 เทศบาลเมืองนางรอง.

5. วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2559). รูปแบบการเรียนการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3