ผลของสารสกัดบอระเพ็ดต่อการลดไข้ ปริมาณเกล็ดเลือด และชีวเคมีของเลือดในหนูวิสตาร์

Author:

ศุภกิจเจริญกุล พงษ์พิทักษ์,ยะมา ศราวุธ,โพธิชัย กรวีร์,อรุโณรัตน์ จิรภัทธ,ยี่หวา รัญชนา,ศิริลุน ศศิธร,ยศวิมลวัฒน์ ทรงวุฒิ,ศิริสะอาด พาณี,จารุมณี สุพร

Abstract

บอระเพ็ด (Boraphet: Tinospora crispa (L.) Miers ex Hook. f. & Thomson) เป็นพืชที่พบในแถบเอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพทย์แผนโบราณในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย มีการนำส่วนของเถา รากและใบ ใช้ในการบำบัดรักษาโรคหลายอย่าง เช่น ต้านการอักเสบ ลดไข้ ลดระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านมาลาเรีย ต้านแบคทีเรีย ต้านมะเร็ง และเจริญอาหาร เป็นต้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการลดไข้ของสารสกัดบอระเพ็ดด้วยเอทานอลและน้ำ ผลต่อปริมาณเกล็ดเลือดและค่าชีวเคมีของเลือดในหนูวิสตาร์  โดยเก็บตัวอย่างเลือดก่อนการทดลอง 72 ชั่วโมง ในการทดสอบฤทธิ์ลดไข้ หนูทดลองถูกกระตุ้นให้เกิดไข้ด้วยวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (Diphtheria-tetanus-pertussis: DTP) เมื่อเกิดไข้หนูจะได้รับสารสกัดปริมาณเทียบเท่ากับผงบอระเพ็ด 30, 90 และ 270 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. โดยให้ทางปาก จากนั้นวัดไข้ทางทวารหนักทุก 30 นาที จนครบ 240 นาที แล้วเก็บตัวอย่างเลือดอีกครั้งหลังจากครบเวลา ผลการศึกษาวิจัยนี้ พบว่าสารสกัดบอระเพ็ดด้วยเอทานอล ขนาด 30, 90, 270 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. มีค่าเฉลี่ยในการลดไข้เท่ากับ 1.62±0.33, 1.68±0.51 และ 1.48±0.32°C ตามลำดับ ในขณะที่สารสกัดบอระเพ็ดด้วยน้ำ ทั้งสามความเข้มข้น มีค่าเฉลี่ยในการลดไข้เท่ากับ 1.18±0.19, 1.14±0.31 และ 1.32±0.36°C ตามลำดับ ทั้งนี้ กลุ่มควบคุมบวก ที่ได้รับพาราเซตามอลและไอบูโปรเฟน มีค่าเฉลี่ยในการลดไข้ เท่ากับ 1.62±0.78 และ 1.48±0.18°C ตามลำดับ และกลุ่มควบคุมลบมีค่าเฉลี่ยในการลดไข้ 0.96±0.31°C นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มหนูวิสตาร์ที่ได้รับสารสกัดบอระเพ็ดมีปริมาณเกล็ดเลือดก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม และผลวิเคราะห์ชีวเคมีของเลือดไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าหนูวิสตาร์ที่ได้รับสารสกัดบอระเพ็ดด้วยน้ำขนาด 270 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. มีค่าเอนไซม์ AST เพิ่มขึ้นเล็กน้อย และค่าเอนไซม์ ALT หลังได้รับสารสกัดมีค่าเพิ่มขึ้นแต่ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญ สามารถสรุปได้ว่าสารสกัดบอระเพ็ดด้วยเอทานอลมีประสิทธิผลในการลดไข้ได้ดีกว่าสารสกัดด้วยน้ำ และไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมบวกอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ปริมาณเกล็ดเลือดและค่าชีวเคมีของเลือดในกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (p>0.05)

Publisher

University of Phayao

Reference46 articles.

1. Dinarello CA, Porat R. Fever and Hyperthermia. In: Longo DL, ed.; Fauci AS, ed.; Kasper DL, ed.; Hauser SL, ed.; Jameson JL, ed.; Loscalzo J, ed. Harrison’s Principles of Internal Medicine 17th Edition. United States: McGraw-Hill Medical; 2008:117-121.

2. Bureau of Epidemiology Department of Disease Control. Reporting guidelines of dangerous communicable diseases and communicable diseases that must be monitored. According to the Communicable Disease Act B.E. 2015. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2018. (In Thai)

3. Department of medical sciences, Ministry of public health. Bora Phet; Thai Herbal Pharmacopoeia 2018. Nonthaburi; 2018.

4. Ahmad W, Yantan I, Bukhari SNA. Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson: A Review

5. of Its Ethnobotanical, Phytochemical, and Pharmacological Aspects. Frontiers in Pharmacology 2016;7:59.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3