เรื่องเล่าการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์สู่แนวทางการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Author:

Insawang Wanwisa PloyORCID,ศิริวงศ์ พิทักษ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องเล่าของนักท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์ (Camper) และนำเสนอแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์อย่างยั่งยืน โดยการเล่าเรื่องราวผ่านประสบการณ์การท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์ของผู้วิจัยและสะท้อนภาพความคิดของกลุ่มนักท่องเที่ยวดังกล่าวที่ผู้วิจัยมีฐานะเป็น “คนในกลุ่ม” (Emic) ด้วยวิธีวิทยาแนวอัตชาติพันธุ์วรรณาเชิงวิพากษ์ (Critical Autoethnography) พร้อมด้วยนักกางเต็นท์ที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน เป็นผู้ร่วมสนทนา ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบไม่เป็นทางการ เน้นการร่วมสนทนาและการสร้างประสบการณ์ระหว่างกัน พร้อมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ผลการวิจัยพบว่า กระแสสังคมในปัจจุบันส่งผลให้รูปแบบการท่องเที่ยวกางเต็นท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านลักษณะทางกายภาพ ได้แก่ สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนด้านลักษณะพฤติกรรมของนักกางเต็นท์รุ่นใหม่ จึงทำให้ต้องมีแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวแบบกางเต็นท์ให้มีความยั่งยืนครอบคลุมทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1) การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน มิติที่ 2) การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบทางสังคม เศรษฐกิจแก่ชุมชนท้องถิ่น มิติที่ 3) การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบเชิงลบทางวัฒนธรรมแก่ชุมชนและนักท่องเที่ยว และมิติที่ 4) การเพิ่มผลประโยชน์และลดผลกระทบด้านลบทางสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การท่องเที่ยวในรูปแบบการกางเต็นท์สร้างประโยชน์สูงสุด มีความยั่งยืนและคงอยู่ต่อไป

Publisher

Rajamangala University of Technology Thanyaburi

Reference21 articles.

1. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2566). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://www.mots.go.th/ProjectToPromoteSustainableTourism.pdf

2. กัญญาพัชร์ พัฒนาโภคินสกุล, สุภัทรา สังข์ทอง และนิมิต ซุ้นสั้น. (2565). การพัฒนาแกลมปิ้งเพื่อการท่องเที่ยว. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 4(2), 94-109.

3. ชลธร ชำนาญคิด และอนุชยา ชำนาญคิด. (2559). การศึกษาปรับปรุงและบังคับใช้กฎระเบียบและมาตรการพิเศษเพื่อสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

4. ชวลิต อภิหิรัญตระกูล และต่อลาภ คำโย. (2565). การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่เงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 17(59), 41-51.

5. ชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). แนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 25-37.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3