การยอมรับนวัตกรรมระบบอัดแท่งสำหรับผลิตเชื้อเพลิงแข็งประสิทธิภาพสูงจากขยะชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

Author:

ทนงค์แผง วัฒนา,เกตุมุณี มนต์ชาตรีORCID,เวศพันธุ์ ธีรพจน์,จานทอง มนูศักดิ์ORCID,เหมือนเมือง อภิสิทธิ์,แก้วปรารถนา ธีระภัทร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับนวัตกรรมระบบอัดแท่งสำหรับผลิตเชื้อเพลิงแข็งประสิทธิภาพสูงจากขยะชุมชน และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับนวัตกรรมระบบอัดแท่งสำหรับผลิตเชื้อเพลิงแข็งประสิทธิภาพสูงจากขยะชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ คนในชุมชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลท่าวุ้ง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี จำนวน 400 คน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสหสัมพันธ์เชิงถดถอย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมระบบอัดแท่งสำหรับผลิตเชื้อเพลิงแข็งประสิทธิภาพสูงจากขยะชุมชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้ดังนี้ ทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน รองลงมา คือ การรับรู้ความง่ายในการใช้งานของระบบ การรับรู้ถึงประโยชน์ของระบบ และความตั้งใจในการใช้งาน การทดสอบสมมติฐาน พบว่า การยอมรับที่มีผลต่อทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน ได้แก่ การรับรู้ความง่ายในการใช้งานของระบบ (ß = .176) และการรับรู้ถึงประโยชน์ของระบบ (ß = .716) ส่วนการยอมรับที่มีผลต่อความตั้งใจใช้งานระบบ ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ของระบบ (ß = .343) ทัศนคติที่มีต่อการใช้งาน (ß = .503) และความตั้งใจใช้งานระบบมีผลต่อความพึงพอใจใช้งานระบบอัดแท่งสำหรับผลิตเชื้อเพลิงแข็งประสิทธิภาพสูงจากขยะชุมชน (ß = .343)

Publisher

Rajamangala University of Technology Thanyaburi

Reference24 articles.

1. กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ระบบสารสนเทศด้านการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน. สืบค้น 25 มิถุนายน 2566, จาก https://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php

2. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน. (2566). รายงานสถานการณ์พลังงานของประเทศไทย เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2566 (เบื้องต้น). สืบค้น 25 มิถุนายน 2566, จาก https://kc.dede.go.th/knowledge-view.aspx?p=433

3. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

4. ประพิธาร์ ธนารักษ์ และศักย์ชัย เพชรสุวรรณ. (2562). การประเมินผลตอบแทนทางสิ่งแวดล้อมและสังคมจากการลงทุนของเครื่องอัดแท่งเชื้อเพลิงชีวมวลชุมชน. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 25(1), 41-54.

5. ภัทรวดี รัตนปัญญา. (2565). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนพลังงานทดแทนจากเชื้อเพลิงชีวมวลผลิตภัณฑ์ไม้สวนป่ายั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3