ความสมดุลของชีวิตในการทำงาน และการผสมผสานการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างลงตัวของพนักงานโรงแรมภายหลังสถานการณ์โควิด-19 (COVID-19)

Author:

ยิปซั่มภูมิพิจิตร ธบัญพร,ช่องรักษ์ พิชชานันท์

Abstract

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เป็นวิกฤตร้ายแรงระดับโลกที่ส่งผลกระทบที่ส่งผลได้ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ เป็นความท้าทายรูปแบบใหม่ของผู้ประกอบการธุรกิจที่พักแรมจะต้องปรับรูปแบบการดำเนินงานให้เหมาะสมและเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้สถานการณ์ที่มีความผันผวนสูงและไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ภายในธุรกิจโรงแรมซึ่งเผชิญกับความกดดันและการทำงานอย่างหนัก โดยบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจโรงแรมภายหลังสถานการณ์ COVID-19 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และแนวคิดการผสมผสานเรื่องการทำงานและเรื่องชีวิตส่วนตัวได้อย่างลงตัว พร้อมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่พักแรมในการวางแผนกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์สำหรับเจ้าของธุรกิจโรงแรม โดยผลของการทบทวนเอกสารและสังเคราะห์แนวคิดในข้างต้น พบว่า ความสมดุลในชีวิตของพนักงานโรงแรมรุ่นใหม่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ด้านคือ 1) การมีความสุขทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน 2) การเลือกทำงานที่สร้างคุณค่าให้กับตัวเอง และ 3) การดำเนินชีวิตอยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติภายใต้การทำงานและใช้ชีวิตอย่างเต็มความสามารถ โดยประเด็นดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมควรให้ความสำคัญต่อพฤติกรรมและความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อช่วยสนับสนุนให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี อันจะส่งผลให้เกิดการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนและช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้

Publisher

Rajamangala University of Technology Thanyaburi

Reference31 articles.

1. กฤษกรณ์ เจนจิตร์, ยุทธชัย ฮารีบิน และรุ่งนภา อริยะพลปัญญา. (2566). แนวทางความสมดุลของชีวิตและการทำงานของโรงแรมแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชพฤกษ์วิชาการ ครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2566, หน้า 320-334. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤษ์.

2. กฤษฏิ์ วิภาสสุวรรณ. (2557). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานในแผนกงานส่วนหน้าของโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3873

3. กิรฐากร บุญรอด, สุณิสา ผลโชติ และรุษยา คำนวณ. (2565). แนวทางในการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมในช่วงวิกฤต โควิด-19. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 15(1), 139-148.

4. จุติมา บุญมี และพีรวิชญ์ สิงฆาฬะ. (2566). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจโรงแรมภายหลังเหตุการณ์ COVID-19. ตรัง: วิทยาลัยการโรงแรมและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง.

5. ชนัญญา พิกุลทอง. (2549). การจัดการความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว (Work Life Balance) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของผู้ปฎิบัติงานในสนามบินนานาชาติภูเก็ต. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2567, จาก http://www.mbaphangnga.ru.ac.th/documents/IS/IS3/6424103018.pdf

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3