การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

Author:

หงษ์โง่น สวภัทรORCID,จินวงษ์ อัจฉราORCID,แผ้วชำนาญ ปิยพรORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การให้ความรู้ต่อกลุ่มเป้าหมาย ด้วยกลไก และวิธีการต่าง ๆ เช่น การให้ความรู้เชิงวิชาการ การสะท้อนให้เห็นผลที่เกิดขึ้นจากความเสี่ยง อันตรายต่อสุขภาพ การจัดกิจกรรมกลุ่มส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีองค์ความรู้ที่เพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้เกิดระดับการปฏิบัติที่ดีขึ้นตามลำดับ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในเขตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพัฒนาและประเมินประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน เฝ้าระวัง และป้องกัน โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในเขตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ระเบียบวิธีการวิจัย: ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) บุคลากรสาธารณสุขในเทศบาลตำบลบ้านตาด ได้แก่ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนักวิชาการสาธารณสุข รวมจำนวน 2 คน (2) บุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก จำนวน 5 คน (3) ผู้นำระดับชุมชน ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 8 หมู่บ้าน รวมจำนวน 8 คน (4) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิคมทหารผ่านศึก อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ทั้ง 8 หมู่บ้าน จำนวน 98 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการวิจัย: รูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในเขตชุมชนจำเป็นต้องมีการสร้างความเข้าใจให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงานและซักซ้อมให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีขั้นตอนประกอบไปด้วย (1) การดำเนินงานเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข การทำหน้าที่เป็นด่านหน้าในการคัดกรอง หรือรณรงค์เคาะประตูบ้านควรมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคโควิด-19 เมื่อมีผู้ป่วยเกิดขึ้นในชุมชน (2) การสนับสนุนการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้การสนับสนุนในเรื่องของงบประมาณ ในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชนและเงินสนับสนุนในรูปแบบของโครงการ ให้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นขวัญกำลังใจแก่ อาสาสมัครสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงาน (3) การเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด-19 ในชุมชน ของ อสม. การปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อาสาสมัครสาธารณสุขเป็นกลุ่มอาสาสมัครภาคประชาชน จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาความรู้ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้เรื่องการป้องกันโรค การติดเชื้อ ระยะติดต่อ รวมไปถึงการรักษาเบื้องต้นของโรคโควิด–19 เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่คนในชุมชน และยังสร้างความมั่นใจในตนเองของ อาสาสมัครสาธารณสุข ต่อไป          สรุปผล: ผลการวิจัยนี้ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายโดยใช้กลไกและวิธีการต่างๆ เช่น การให้ความรู้ทางวิชาการ สะท้อนผลที่ตามมาของความเสี่ยง อันตรายต่อสุขภาพ การจัดกิจกรรมกลุ่มส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้มากขึ้น และส่งผลให้มีการปฏิบัติที่ดีขึ้นตามลำดับ

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference11 articles.

1. กรมควบคุมโรค. (2565). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019. Retrieved from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/introduction01.pdf

2. กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. (2565). คู่มืออาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.). กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข.

3. กันตภณ ใจศิริ (2564). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติงานการป้องกันและควบคุมโรค COVID-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจาหมู่บ้าน. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 6(2), 83-89.

4. กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม และนวพร ดำแสงสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 25-36

5. ธวัชชัย ยืนยาว ,เพ็ญนภา บุญเสริม (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 35(3), 555-564.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3