ปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ ภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์

Author:

ทรวงโพธิ์ ณปภัชORCID,นาคาพงศ์ อัศวรักษ์ นันทิมาORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: บุคคลที่ประสบกับภาวะหมดไฟในการทำงานจะขาดแรงจูงใจ ท้อแท้และเหนื่อยหน่ายในการทำงาน ซึ่งจะส่งผลเสียทั้งต่อบุคคลและองค์กร การเสริมสร้างพลังอำนาจ เป็นแนวคิดที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้บุคคลเห็นคุณค่าของเป้าหมายการทำงาน ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานด้วยความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจนั้นมีผลทั้งในด้านจิตใจและศักยภาพการทำงานและส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาระดับของภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ และ 4) เพื่อศึกษาผลการพยากรณ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ระเบียบวิธีการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้ช่วย ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 148 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota sampling) ตามสัดส่วนของครูผู้ช่วยแต่ละสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.968 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ผลการวิจัย: 1) ผลการศึกษาระดับของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก ซึ่งปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้า อยู่ในระดับมากและปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การได้รับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก 2) ผลการศึกษาระดับของภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ อยู่ในระดับน้อยและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการลดความสำเร็จส่วนบุคคล อยู่ในระดับน้อย 3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง -0.198 ถึง -0.539 4) ผลการพยากรณ์ของปัจจัยการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า การสนับสนุนให้มีความรู้และทักษะ (X3) การส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้า (X4) และการจัดสรรทรัพยากร (X1) สามารถร่วมกันอธิบายภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ (Y) ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 41.40  สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้             สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ              = 5.021 - 0.330X3 - 0.231X4 - 0.204X1             สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน             y = - 0.377Zx3 - 0.235Zx4 - 0.213Zx1 สรุปผล: การเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก และภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ทั้งยังพบว่าตัวแปรมีความสัมพันธ์เชิงลบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยการสนับสนุนให้มีความรู้และทักษะ การส่งเสริมให้มีโอกาสก้าวหน้า และการจัดสรรทรัพยากร สามารถร่วมกันอธิบายภาวะหมดไฟในการทำงานของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์ได้ร้อยละ 41.40

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference49 articles.

1. กนิษฐา ทองเลิศ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 5(2), 533-548.

2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

3. เกินศักดิ์ ศรีสวย. (2564). การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

4. ฉัตรชกรณ์ ระบิล. (2564). ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 15(2), 60-79.

5. ดวงกมล อนุเอกจิตร. (2560). การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 553-566.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3