ผลของการสะท้อนคิดจากการฝึกจริยธรรมต่อการพัฒนาประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู

Author:

นิลพงษ์ จักรพงษ์ORCID

Abstract

ภูมิหลังและวัตถุประสงค์: การพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป็นความท้าทายสำคัญของสถาบันผลิตครู โดยเฉพาะการเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพและคุณธรรมจริยธรรมให้กับนักศึกษาครู งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาผลของกระบวนการสะท้อนคิดจากการฝึกจริยธรรมที่มีต่อการส่งเสริมประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาครู เพื่อสังเคราะห์แก่นสาระสำคัญที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างการฝึกจริยธรรม กระบวนการสะท้อนคิด และการพัฒนาตนเองในมิติของความเป็นครู ระเบียบวิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้เก็บข้อมูลจากแบบบันทึกผลการสะท้อนคิดออนไลน์ กับนักศึกษาครูที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรจริยธรรมที่เน้นการปฏิบัติธรรมและการสะท้อนคิด จำนวน 87 คน จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) เพื่อค้นหาประเด็นสำคัญที่สะท้อนผลของการฝึกจริยธรรมร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่อการพัฒนาตนเองเพื่อส่งเสริมความเป็นครูมืออาชีพ ผลการวิจัย: ผลการวิเคราะห์พบแก่นสาระสำคัญ 5 ประเด็น คือ 1) การตรงต่อเวลาส่งเสริมความรับผิดชอบและวินัยในตน 2) การสำรวมกาย วาจา ใจ เป็นพื้นฐานของความเป็นครู 3) การสวดมนต์ ทำสมาธิ และตักบาตร ทำบุญ ช่วยให้จิตใจสงบ มีสติ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ 4) การสังเกตอาการเผลอคิดทำให้เข้าใจตนเอง มีสติ และตั้งใจกับปัจจุบัน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการสอนและพัฒนาตนเอง 5) การวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมทำให้เข้าใจและเห็นคุณค่าของการปฏิบัติธรรมในการพัฒนาจิตใจและทักษะการสอน ทั้ง 5 แก่นสาระสะท้อนความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันระหว่างการฝึกจริยธรรม การสะท้อนคิด และการพัฒนาตนเองในมิติจิตใจ ความคิด และพฤติกรรมการสอน อันจะนำไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ สรุปผล: การฝึกจริยธรรมที่เน้นการสะท้อนคิดเพื่อปรับปรุงการฝึกวิชาชีพเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาประสบการณ์วิชาชีพครูในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจำเป็นต้องพัฒนาครูทั้งในมิติของความรู้ ทักษะ และจริยธรรมไปพร้อม ๆ กัน อันจะนำไปสู่การสร้างครูคุณภาพที่พร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน

Publisher

Dr. Ken Institute of Academic Development and Promotion

Reference19 articles.

1. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18-20.

2. ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2524). การพัฒนาจริยธรรม: ตำราจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

3. ดุสิต ปรีพูล, พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ และโสวิทย์ บำรุงภักดิ์. (2562). การพัฒนาจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 97-108.

4. นิตยา ทองจันฮาด, สมาน เอกพิมพ์ และสุรกานต์ จังหาร. (2563). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมจิตลักษณะความเป็นครูของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(2), 75-86.

5. ประมวลจริยธรรมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 213 ง. หน้า 67-68.

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3