Author:
สขาภิวัฒน์ กัณวัฒน์,โพธิแพทย์ วิภาส,ตัญศิริ คเชนทร์
Abstract
วัตถุประสงค์: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคำกริยา “ต่อ” ที่มีความหมาย ‘ปรากฏถัดจากสิ่งอ้างอิง’ กับคำกริยาวิเศษณ์ “ต่อ” ที่มีความหมาย ‘บอกความสืบเนื่องของเหตุการณ์’
วิธีการศึกษา: รวบรวมข้อมูลจากเอกสารตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - พุทธศตวรรษที่ 26 หลังจากนั้น วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคำว่า “ต่อ” ที่เป็นคำกริยากับคำกริยาวิเศษณ์ในภาษาไทย โดยใช้แนวคิดทางอรรถศาสตร์ปริชานและกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์
ผลการศึกษา: คำกริยา “ต่อ” ที่มีความหมาย ‘ปรากฏถัดจากสิ่งอ้างอิง’ เปลี่ยนแปลงหน้าที่ไปเป็นคำกริยาวิเศษณ์ “ต่อ” ที่มีความหมาย ‘บอกความสืบเนื่องของเหตุการณ์’ โดยผ่านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ซึ่งมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย ได้แก่ กระบวนการนามนัย และกลไกการเปลี่ยนแปลงทางวากยสัมพันธ์ ได้แก่ กลไกการวิเคราะห์ใหม่
การประยุกต์ใช้: ผลการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์เพื่อใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางภาษาแบบข้ามสมัยและยังเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ความหมายของคำอื่น
Reference22 articles.
1. Department of Linguistics, Faculty of Arts, Chulalongkorn University. (2020). Thai National Corpus. Retrieved 20 March 2020, from https://www.arts.chula.ac.th/ling/tnc3/ (In Thai)
2. Evans, V. (2004). The Structure of Time: Language, Meaning and Temporal Cognition. Amsterdam: John Benjamins.
3. Evans, V. (2005). ‘The meaning of time: polysemy, the lexicon and conceptual structure’, Journal of Linguistics, 41(1), 33–75.
4. Fine Arts Department. (1962). Cotmaajlungudomsombut. Bangkok: Fine Arts Department. (In Thai)
5. Heine, B. (2002). On the role of context in grammaticalization. In I. Wischer & G. Diewald (Eds.), New reflections on grammaticalization, pp. 83-101, Amsterdam/Philadelphia: John Benjamins.