อุปลักษณ์วิเคราะห์เชิงวิพากษ์ในการรณรงค์หาเสียงของนักการเมืองไทย: กรณีศึกษาการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566

Author:

สะมะแอ นูรอา

Abstract

วัตถุประสงค์: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์มโนทัศน์และเพื่อวิพากษ์มุมมองในการรณรงค์หาเสียงของนักการเมืองไทยที่สะท้อนผ่านอุปลักษณ์มโนทัศน์ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 วิธีการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แนวคิดแนวคิดอุปลักษณ์มโนทัศน์ รวมถึงแนวคิดอุปลักษณ์วิเคราะห์เชิงวิพากษ์เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์เทปบันทึกการรณรงค์หาเสียงของนักการเมืองไทยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ที่เผยแพร่โดยสำนักข่าว 12 ช่อง ผลการศึกษา: ผลการวิจัยพบถ้อยคำอุปลักษณ์ที่นักการเมืองไทยใช้ในการรณรงค์หาเสียงของนักการเมืองไทย พ.ศ. 2566 มีจำนวน 60 ถ้อยคำอุปลักษณ์ และพบอุปลักษณ์มโนทัศน์จำนวน 9 ประเภท ได้แก่ 1) การเลือกตั้งคือสงคราม 2) การเลือกตั้งคือการเดินทาง 3) การเลือกตั้งคือการแข่งขัน 4) การเลือกตั้งคือมนุษย์ 5) การเลือกตั้งคือครอบครัว 6) การเลือกตั้งคือไฟ 7) การเลือกตั้งคือก่อสร้าง 8) การเลือกตั้งคือการศึกษา และ 9) การเลือกตั้งคือความทรมาน ส่วนการวิเคราะห์อุปลักษณ์มโนทัศน์พบมุมมองในการรณรงค์หาเสียงของนักการเมืองไทยต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 จำนวน 5 มุมมอง ได้แก่ การเลือกตั้งคือพื้นฐานของความมั่นคง การเลือกตั้งคือการเอาชนะ การเลือกตั้งคือความทรมานของประชาชน การเลือกตั้งคือการเดินทางสู่จุดหมายปลายทาง และการเลือกตั้งคือการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้: การศึกษาตามแนวคิดอุปลักษณ์วิเคราะห์เชิงวิพากษ์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ภาษา มุมมอง บริบททางสังคม และการติดตามความเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อสะท้อนบริบททางการเมืองของประเทศไทย

Publisher

Silpakorn University

Reference23 articles.

1. Charteris-Black, J. (2004). Corpus Approaches to Critical Metaphor Analysis. London: Palgrave Macmillan.

2. Charteris-Black, J. (2011). Politicians and Rhetoric: The Persuasive Power of Metaphor (2nd ed.). London: Palgrave Macmillan.

3. Cinnaum, R., Thongchaem, S., & Tingnga, J. (2023). People's perceptions of factors affecting the selection of members of the house of representatives in 2023. Academic Journal of North Bangkok University, 12(1), 118-126.

4. Evans, V. & Green, M. (2006). Cognitive Linguistics. Edinburgh: Edinburgh University Press.

5. Intawong, P. & Sirimongchol, A. (2022). Conceptual Metaphor of War in Thailand’s 2019 Election in Online News. Ganesha Journal, 15(2), 33-44. (In Thai)

同舟云学术

1.学者识别学者识别

2.学术分析学术分析

3.人才评估人才评估

"同舟云学术"是以全球学者为主线,采集、加工和组织学术论文而形成的新型学术文献查询和分析系统,可以对全球学者进行文献检索和人才价值评估。用户可以通过关注某些学科领域的顶尖人物而持续追踪该领域的学科进展和研究前沿。经过近期的数据扩容,当前同舟云学术共收录了国内外主流学术期刊6万余种,收集的期刊论文及会议论文总量共计约1.5亿篇,并以每天添加12000余篇中外论文的速度递增。我们也可以为用户提供个性化、定制化的学者数据。欢迎来电咨询!咨询电话:010-8811{复制后删除}0370

www.globalauthorid.com

TOP

Copyright © 2019-2024 北京同舟云网络信息技术有限公司
京公网安备11010802033243号  京ICP备18003416号-3